“มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดเผย เกมทำให้ความเป็นอยู่ของผู้คนและสุขภาพจิตของเราดีขึ้น”

สตูดิโอแห่งหนึ่งของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดได้ทำการวิจัยจากคนเล่นเกมกว่า 6,500 คน โดยมี 3,000 คนที่แชร์ข้อมูลจากการเล่นทางไกล โดยจะมุ่งเน้นไปที่คนที่เล่นเกมของค่าย EA และ Nintendo เป็นหลัก โดยมีข้อมูลส่วนหนึ่งที่ดึงมาจากทางบริษัททั้ง 2 โดยตรง ซึ่งทาง Nintendo จะแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับเกม Animal Crossing: New Horizons ส่วนทาง EA คือเกม Plants vs Zombies: Battle for Neighborville ในช่วงเวลา 2 สัปดาห์ของเดือนสิงหาและกันยายน โดยจะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับการเล่นเกมต่าง ๆ การวิจัยแบบสอบถาม จะให้ผู้เข้าการทดสอบได้ตอบเห็นด้วยไม่เห็นด้วยตามข้อความ เช่น “ฉันรู้สึกว่ามีความสามารถใน PvZ” หรือ “ฉันมีอิสระมากมายใน Animal Crossing” เป็นต้น

  • ผลการวิจัยพบว่าผู้เข้าร่วมการทดสอบที่เล่นเกมเป็นเวลานาน มีแนวโน้มที่จะแสดงความรู้สึกเชิงบวกเกี่ยวกับทั้งเกม และความเป็นอยู่ที่ดีในทางด้านจิตใจของพวกเขาตามช่วงอายุ
  • ตรงกันข้ามกับความกลัวมากมายที่เวลาเล่นเกมมากเกินไปจะนำไปสู่การเสพติดและสุขภาพจิตที่ไม่ดี
  • การวิจัยชี้ให้เห็นว่าการควบคุมการเล่นเกมให้เป็นเวลา อาจไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรมากมายตามที่ใครหลาย ๆ คนคาดหวัง แม้ว่าลักษณะความสัมพันธ์ของข้อมูลจะไม่ตรงกันบ้างก็ตาม
  • ข้อมูลที่ไม่ตรงกันเช่น ผู้เล่นบอกว่าเล่นเกมเกินมากกว่า 2 ชั่วโมง แต่พอเวลาจับข้อมูลทางไกลกลับมีเวลาไม่ตรงกับการประเมินเป็นต้น
  • ผลการวิจัยเชื่อว่า คนที่มีความรู้สึกดี ๆ จะเล่นเกมมากกว่า
  • ศาสตราจารย์ Andrew Przybylski ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัยกล่าวว่า “ถ้าคุณเล่น Animal Crossing เป็นเวลา 4 ชั่วโมงต่อวัน ทุก ๆ วันคุณจะรู้สึกมีความสุขมากกว่าคนที่ไม่ได้เล่น นั่นไม่ได้หมายความว่า Animal Crossing ทำให้คุณมีความสุข ”
  • การเล่นเกม อาจเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตของผู้คนในเชิงบวก และการควบคุมการเล่นเกม จะไปหยุดข้อดี ๆ เหล่านั้นจากผู้เล่นลง
  • การวิจัยไม่ยืนยันว่าเวลาเล่นเกมส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีได้
  • เป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้คือการสำรวจว่าพฤติกรรมของเกมมีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิตอย่างไร และทำอย่างไรเราถึงจะสามารถเก็บภาพรวมของความสัมพันธ์ และได้รับข้อมูลเชิงลึกเบื้องต้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวิดีโอเกมกับสุขภาพจิต

แหล่งที่มา gamesindustry.biz

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here